รายงานสรุปโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗
จังหวัดเพชรบุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางค่อนทางใต้ จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางกลุ่มตะวันตกอยู่ห่างกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๖,๒๒๕.๑๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓,๘๙๐,๗๑๑ ไร่ แบ่งเป็น ๘ อำเภอ ๙๓ ตำบล ๖๘๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑๑ เทศบาล ๖๙ องค์การบริหาส่วนตำบล และ ๑๓ สภาตำบล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูงและเทือกเขา
แม่น้ำเพชรบุรี เป็นแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีตลอดทั้งสาย มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำที่เทือกเขาตะนาวศรีทางทิศตะวันตกและลำน้ำสาขาต่าง ๆ ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบ้านแหลม มีความยาวทั้งสิ้น ๒๒๗ กิโลเมตร ลำน้ำมีความลาดชันมากในตอนบน ส่วนตอนล่างค่อนข้างราบ โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด ๕,๖๙๒ ตารางกิโลเมตร (ลุ่มน้ำแก่งกระจาน ๒,๒๑๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยผาก ๗๘๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ๑,๐๕๐ ตร.กม. และพื้นที่ลุ่มน้ำท้ายเขื่อนเพชร ๑,๖๕๒ ตร.กม.) แม่น้ำบางกลอย ต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบุรีที่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน ความยาวของลำน้ำประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ห้วยแม่ประจันต์ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในจังหวัดราชบุรี ไหลผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้องมารวมกับแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเหนือเขื่อนเพชรในตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร ห้วยผาก เกิดจากภูอ่างแก้วและภูน้ำหยดในเขตอำเภอแก่งกระจาน ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบริเวณตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๓๒ กิโลเมตร จังหวัดเพชรบุรีได้เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๖ รวม ๒ ห้วงเวลา คือระหว่างวันที่ ๑๓–๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๒๒–๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยมีสาเหตุมาจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนบน–เหนือเขื่อนเพชร สรุปได้คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพลตรี พยงค์ สุขมา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ได้อันเชิญพระราชกระแสมาสรุปได้ดังนี้“ ขณะนี้ย่างเขาฤดูฝนแล้ว พื้นที่ที่เกิดอุทกภัยอยู่เสมอควรเฝ้าระวังติดตามการบริหารและจัดการน้ำ รวมทั้งเตรียมรับสถานการณ์ไว้ให้พร้อม…… การแก้ไขปัญหาอุทกภัยบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ให้กรมชลประทานจัดทำแผนที่ทิศทางการไหลของน้ำ พร้อมแผนการปรับคลองส่งน้ำให้เป็นคลองระบายน้ำด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ ” กรมชลประทาน ได้เตรียมแผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยระยะเร่งด่วน โดย คาดว่ามีปริมาณน้ำหลากเหนือเขื่อนเพชรในอัตรา ๙๐๓ ลบ.ม./วินาที โดยใช้รอบปีการเกิดซ้ำ ๑๐ ปี และไม่มีอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ และอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ดังนี้
แนวทางป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในระยะยาว
๑.การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มการเก็บ โดยเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ความจุ ๗๑๐ ล้าน ลบ.ม. โดยเพิ่มระดับเก็บกัก ๑.๐ – ๑.๕ ม. จะสามารถจุน้ำได้เพิ่มขึ้น ๔๕ – ๗๐ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ ความจุ ๔๒.๒ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ความจุ ๒๗.๕ ล้าน ลบ.ม.
๒.ติดตั้งระบบคาดการณ์เตือนภัย (ระบบโทรมาตร)
๓.จัดตั้งองค์กรขึ้นรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการดำเนินงานแบบบูรณาการ โดยจัดทำแผนการป้องกันปัญหาอุทกภัยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ โดยใช้แผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ
๔.ปรับปรุงแก้ไขสื่อสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำ เช่น ถนน สะพาน ทางรถไฟ ฯลฯ โดยให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โดยให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วม
จังหวัดเพชรบุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางค่อนทางใต้ จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางกลุ่มตะวันตกอยู่ห่างกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๖,๒๒๕.๑๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓,๘๙๐,๗๑๑ ไร่ แบ่งเป็น ๘ อำเภอ ๙๓ ตำบล ๖๘๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑๑ เทศบาล ๖๙ องค์การบริหาส่วนตำบล และ ๑๓ สภาตำบล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูงและเทือกเขา
แม่น้ำเพชรบุรี เป็นแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีตลอดทั้งสาย มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำที่เทือกเขาตะนาวศรีทางทิศตะวันตกและลำน้ำสาขาต่าง ๆ ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบ้านแหลม มีความยาวทั้งสิ้น ๒๒๗ กิโลเมตร ลำน้ำมีความลาดชันมากในตอนบน ส่วนตอนล่างค่อนข้างราบ โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด ๕,๖๙๒ ตารางกิโลเมตร (ลุ่มน้ำแก่งกระจาน ๒,๒๑๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยผาก ๗๘๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ๑,๐๕๐ ตร.กม. และพื้นที่ลุ่มน้ำท้ายเขื่อนเพชร ๑,๖๕๒ ตร.กม.) แม่น้ำบางกลอย ต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบุรีที่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน ความยาวของลำน้ำประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ห้วยแม่ประจันต์ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในจังหวัดราชบุรี ไหลผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้องมารวมกับแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเหนือเขื่อนเพชรในตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร ห้วยผาก เกิดจากภูอ่างแก้วและภูน้ำหยดในเขตอำเภอแก่งกระจาน ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบริเวณตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๓๒ กิโลเมตร จังหวัดเพชรบุรีได้เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๖ รวม ๒ ห้วงเวลา คือระหว่างวันที่ ๑๓–๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๒๒–๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยมีสาเหตุมาจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนบน–เหนือเขื่อนเพชร สรุปได้คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพลตรี พยงค์ สุขมา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ได้อันเชิญพระราชกระแสมาสรุปได้ดังนี้“ ขณะนี้ย่างเขาฤดูฝนแล้ว พื้นที่ที่เกิดอุทกภัยอยู่เสมอควรเฝ้าระวังติดตามการบริหารและจัดการน้ำ รวมทั้งเตรียมรับสถานการณ์ไว้ให้พร้อม…… การแก้ไขปัญหาอุทกภัยบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ให้กรมชลประทานจัดทำแผนที่ทิศทางการไหลของน้ำ พร้อมแผนการปรับคลองส่งน้ำให้เป็นคลองระบายน้ำด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ ” กรมชลประทาน ได้เตรียมแผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยระยะเร่งด่วน โดย คาดว่ามีปริมาณน้ำหลากเหนือเขื่อนเพชรในอัตรา ๙๐๓ ลบ.ม./วินาที โดยใช้รอบปีการเกิดซ้ำ ๑๐ ปี และไม่มีอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ และอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ดังนี้
แนวทางป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในระยะยาว
๑.การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มการเก็บ โดยเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ความจุ ๗๑๐ ล้าน ลบ.ม. โดยเพิ่มระดับเก็บกัก ๑.๐ – ๑.๕ ม. จะสามารถจุน้ำได้เพิ่มขึ้น ๔๕ – ๗๐ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ ความจุ ๔๒.๒ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ความจุ ๒๗.๕ ล้าน ลบ.ม.
๒.ติดตั้งระบบคาดการณ์เตือนภัย (ระบบโทรมาตร)
๓.จัดตั้งองค์กรขึ้นรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการดำเนินงานแบบบูรณาการ โดยจัดทำแผนการป้องกันปัญหาอุทกภัยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ โดยใช้แผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ
๔.ปรับปรุงแก้ไขสื่อสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำ เช่น ถนน สะพาน ทางรถไฟ ฯลฯ โดยให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โดยให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น