วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ยินดีต้อนรับสู่บล็อก เจ้าเก๋ นะ.... ยินดีต้อนรับ....ยินดีต้อนรีบ....ยินดีต้อนรับ....

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการพระราชดำริ กังหันน้ำพัฒนา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสีย อุปกรณ์ในเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา • โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม • ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง ที่ซองมีรูพรุนให้น้ำกระจายเป็นฝอยได้้เริ่มต้นด้วยซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ทำให้ซองน้ำวิดตักน้ำ ด้วยความเร็วสามารถยกน้ำสาดขึ้นไปกระจ่ายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดการอัด อากาศภายในซองน้ำใต้ผิวน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดีมากขึ้น

โครงการพระราชดำริ แก้มลิง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาด้านน้ำท่วมนี้ โดยวิธีการที่ตรัสว่า “ แก้มลิง ” ซึ่งได้พระราชทานอรรถาธิบายว่า “ ...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง... ” ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองเพื่อนำน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ ก็เปรียบเหมือนแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง ลักษณะของงานเป็นการระบายน้ำออกจากพี้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็นำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้
หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) และสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำในคลองพักมีระดับต่ำที่สุดซึ่งจะทำให้น้ำจากคลองตอนบนไหลลงสู่คลองพักน้ำได้ตลอดเวลา แต่เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองก็จะปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ






การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”