วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการพระราชดำริ กังหันน้ำพัฒนา



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำในแหล่งน้ำเสีย อุปกรณ์ในเครื่องกังหันน้ำชัยพัฒนา • โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม • ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง ที่ซองมีรูพรุนให้น้ำกระจายเป็นฝอยได้้เริ่มต้นด้วยซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ทำให้ซองน้ำวิดตักน้ำ ด้วยความเร็วสามารถยกน้ำสาดขึ้นไปกระจ่ายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำ ทำให้เกิดการอัด อากาศภายในซองน้ำใต้ผิวน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้ดีมากขึ้น

โครงการพระราชดำริ แก้มลิง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พระองค์ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาด้านน้ำท่วมนี้ โดยวิธีการที่ตรัสว่า “ แก้มลิง ” ซึ่งได้พระราชทานอรรถาธิบายว่า “ ...ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ในกระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง... ” ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองเพื่อนำน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ ก็เปรียบเหมือนแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง ลักษณะของงานเป็นการระบายน้ำออกจากพี้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือใต้ ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเลเมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลองก็นำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้
หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) และสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำในคลองพักมีระดับต่ำที่สุดซึ่งจะทำให้น้ำจากคลองตอนบนไหลลงสู่คลองพักน้ำได้ตลอดเวลา แต่เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองก็จะปิดประตูระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับ

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ






การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”






โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดเพชรบุรี






รายงานสรุปโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๔๗
จังหวัดเพชรบุรีตั้งอยู่ทางภาคกลางค่อนทางใต้ จัดอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางกลุ่มตะวันตกอยู่ห่างกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๖,๒๒๕.๑๓๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓,๘๙๐,๗๑๑ ไร่ แบ่งเป็น ๘ อำเภอ ๙๓ ตำบล ๖๘๔ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ๑๑ เทศบาล ๖๙ องค์การบริหาส่วนตำบล และ ๑๓ สภาตำบล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูงและเทือกเขา
แม่น้ำเพชรบุรี เป็นแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรีตลอดทั้งสาย มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำที่เทือกเขาตะนาวศรีทางทิศตะวันตกและลำน้ำสาขาต่าง ๆ ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองเพชรบุรี และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบ้านแหลม มีความยาวทั้งสิ้น ๒๒๗ กิโลเมตร ลำน้ำมีความลาดชันมากในตอนบน ส่วนตอนล่างค่อนข้างราบ โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด ๕,๖๙๒ ตารางกิโลเมตร (ลุ่มน้ำแก่งกระจาน ๒,๒๑๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยผาก ๗๘๐ ตร.กม. ลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ ๑,๐๕๐ ตร.กม. และพื้นที่ลุ่มน้ำท้ายเขื่อนเพชร ๑,๖๕๒ ตร.กม.) แม่น้ำบางกลอย ต้นน้ำอยู่ในเขตอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบุรีที่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน ความยาวของลำน้ำประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ห้วยแม่ประจันต์ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในจังหวัดราชบุรี ไหลผ่านอำเภอหนองหญ้าปล้องมารวมกับแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเหนือเขื่อนเพชรในตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๒๖ กิโลเมตร ห้วยผาก เกิดจากภูอ่างแก้วและภูน้ำหยดในเขตอำเภอแก่งกระจาน ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเพชรบริเวณตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง มีความยาวประมาณ ๓๒ กิโลเมตร จังหวัดเพชรบุรีได้เกิดอุทกภัยอย่างรุนแรงเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๖ รวม ๒ ห้วงเวลา คือระหว่างวันที่ ๑๓–๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ และวันที่ ๒๒–๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยมีสาเหตุมาจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนบน–เหนือเขื่อนเพชร สรุปได้คือ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ณ วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพลตรี พยงค์ สุขมา ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ได้อันเชิญพระราชกระแสมาสรุปได้ดังนี้“ ขณะนี้ย่างเขาฤดูฝนแล้ว พื้นที่ที่เกิดอุทกภัยอยู่เสมอควรเฝ้าระวังติดตามการบริหารและจัดการน้ำ รวมทั้งเตรียมรับสถานการณ์ไว้ให้พร้อม…… การแก้ไขปัญหาอุทกภัยบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ให้กรมชลประทานจัดทำแผนที่ทิศทางการไหลของน้ำ พร้อมแผนการปรับคลองส่งน้ำให้เป็นคลองระบายน้ำด้วย ซึ่งควรจะดำเนินการภายในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗ ” กรมชลประทาน ได้เตรียมแผนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยระยะเร่งด่วน โดย คาดว่ามีปริมาณน้ำหลากเหนือเขื่อนเพชรในอัตรา ๙๐๓ ลบ.ม./วินาที โดยใช้รอบปีการเกิดซ้ำ ๑๐ ปี และไม่มีอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ และอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ดังนี้
แนวทางป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในระยะยาว
๑.การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มการเก็บ โดยเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ความจุ ๗๑๐ ล้าน ลบ.ม. โดยเพิ่มระดับเก็บกัก ๑.๐ – ๑.๕ ม. จะสามารถจุน้ำได้เพิ่มขึ้น ๔๕ – ๗๐ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ ความจุ ๔๒.๒ ล้าน ลบ.ม.สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ความจุ ๒๗.๕ ล้าน ลบ.ม.
๒.ติดตั้งระบบคาดการณ์เตือนภัย (ระบบโทรมาตร)
๓.จัดตั้งองค์กรขึ้นรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการดำเนินงานแบบบูรณาการ โดยจัดทำแผนการป้องกันปัญหาอุทกภัยจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ต่าง ๆ โดยใช้แผนเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ
๔.ปรับปรุงแก้ไขสื่อสาธารณูปโภคที่กีดขวางทางน้ำ เช่น ถนน สะพาน ทางรถไฟ ฯลฯ โดยให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะองค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการปลูกป่าบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โดยให้องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วม

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย



พื้นที่ดำเนินงานโครงการ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งเรื่องการพัฒนาดอยตุง เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ เนื่องจากพบว่า ดอยตุงประสบปัญหาสภาพป่าถูกทำลาย มีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย และปลูกฝิ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน สำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ซึ่งรับผิดชอบโดยตรง ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรตามพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณโครงการให้มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และรักษาให้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารที่ถาวรตลอดไป รวมถึงเพื่อศึกษา ทดสอบ และพัฒนาการปลูกพืช ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ และผลิตพันธุ์ เพื่อสนับสนุน แก่ราษฎรในพื้นที่ และเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนใน พื้นที่โครงการให้มีสภาพความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน มีผลการดำเนินงาน ๒ ระยะ คือช่วงระหว่าง
พ.ศ. ๒๕๓๑ – พ.ศ. ๒๕๓๖ และช่วงระหว่างพ.ศ. ๒๕๓๗ – พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนี้
๑.การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการป้องกันรักษาพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร จำนวน ๒๖,๓๗๓ ไร่ มิให้ถูกบุกรุกทำลายและฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลาย จำนวน ๕๓,๔๔๗ ไร่ โดยจากการพัฒนายังผลให้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔๕ เป็นร้อยละ ๘๕ ของพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ นอกจากนี้ยังดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคเอกชนและราษฎรในพื้นที่ด้วยการดำเนินกิจกรรมปลูกป่าที่สำคัญ เช่น โครงการปลูกป่าเทิดพระเกียรติ จำนวน ๑๑,๒๙๕ ไร่ ปลูกป่ามูลนิธิชัยพัฒนาแม่ฟ้าหลวง จำนวน ๔,๐๐๐ ไร่ ซึ่งจากการดำเนินการ ส่งผลให้พื้นที่ป่าดอยตุงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จากสถิติการเกิดไฟป่าและพื้นที่ที่ถูกไฟป่าทำลายลดลง รวมถึงพรรณไม้มีความหลากหลายขึ้น ยังผลให้พื้นที่ดอยตุงมีปริมาณน้ำฝนต่อปีเพิ่มขึ้นและมีความชื้นสัมพันธ์
๒.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จากการดำเนินการจัดบริการขั้นพื้นฐานว ทำให้มีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงทุกพื้นที่ของโครงการ และใช้งานได้ทุกฤดูกาล มีแหล่งน้ำครอบคลุมทุกพื้นที่
๓.การพัฒนาอาชีพและรายได้ ผลที่ได้รับจากการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้รายได้ของราษฎรในพื้นที่โครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทุกครอบครัวมีรายได้สุทธิเพียงพอที่จะทำให้เกิดการออมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
๔.การพัฒนาการศึกษา ในพื้นที่ของโครงการปัจจุบัน มีแหล่งบริการด้านการศึกษา ทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง รวมถึงราษฎรในพื้นที่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น และสามารถอ่าน ฟัง พูด และเขียนภาษาไทยได้เกินกว่าครึ่งของราษฎรทั้งหมด
๕.ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่โครงการ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด รวมถึงได้นำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากราษฎรในหมู่บ้าน ช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอีกด้วย

การเพาะเห็ดฟาง


การเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน
ทะลาย เปล่าปาล์มน้ำมันปกติจะเป็นวัสดุเหลือใช้จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีอยู่มากมายในภาคใต้ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดสุราษฏร์ธานี กระบี่ และสงขลา จากการที่พบว่าทะลายปาล์มน้ำมันนั้น สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้อย่างได้ผลดียิ่ง ทำให้เกษตรกรในแถบจังหวัดที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมีความตื่นตัว และหันมาทำการเพาะเห็ดฟางโดยใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน เป็นอาชีพเสริมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งใช้พื้นที่สวนยางพาราเป็นแปลงเพาะเห็ดฟางดังกล่าว จะมีรายได้ ซึ่งเป็นรายได้เสริมครัวเรือนละประมาณ 2,500 - 4,500 บาท / เดือน และทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันนั้น แต่เดิมเกษตรกรมักจะนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อนำกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสวนปาล์ม หรือผักและไม้ผลชนิดต่างๆ ได้อีก แต่ถ้าเอามาเพาะเห็ดเสียก่อนนอกจากจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้ทะลายปาล์มสลายตัวเป็นปุ๋ยเร็วยิ่งขึ้

ดอกไม้ต้านมะเร็ง



หนุนกินดอกไม้ป้องกันโรคภัย ซ่อนกลิ่นมีสารต้านมะเร็งสูง
หนุนชาวเชียงใหม่ปลูกดอกไม้ปลอดสารพิษ กินได้ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยา รักษ์สิ่งแวดล้อม นำร่องโครงการปลูกดอกไม้กินได้ที่ดอยแม่วาง ทั้งกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่นให้สารต้านมะเร็งสูง มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ อีก 1 ปี สรุปผลเพื่อขยายต่อ นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการสำนักบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.เป็นผู้ประสานงานโครงการอาหารและโภชนาการ สนับสนุนการปลูกพืชปลอดสารเคมี ทั้งผักและดอกไม้ นายสง่ากล่าวถึงการนำดอกไม้มาประกอบอาหารว่า ดอกไม้มีความแตกต่างจากผักหรือใบไม้คือ มีสีหลาก หลายทั้งม่วง ส้ม แดง เหลือง ขาว เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไฟโตเคมีคอล เช่น สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งดอกไม้ที่รับประทานกันอยู่แล้ว เช่น ดอกแคแกงส้ม ดอกขจร ใช้ใส่ในไข่เจียว ดอกโสนผัดไข่ แต่โครงการดอกไม้กินได้ นำดอกไม้หลาก หลายชนิดมารับประทาน เช่น ดอกซ่อนกลิ่น ดอกกุหลาบ ชบา ดาวเรือง เข็ม กล้วยไม้ ทำได้หลากหลายเมนูตั้งแต่ กล้วยไม้ทอดกรอบ ต้มจืด ยำ “พืชผักสีม่วงแดงช่วยป้องกันมะเร็ง ส่วนเส้นใยช่วยระบบขับถ่ายดี ไม่ท้องผูก ดอกลีลาวดี หรือจำปานำมาชุบแป้งทอดสรรพคุณขับลม ขับปัสสาวะ อ่อนเพลีย ดาวเรือง บำรุงสายตา แก้ตาเจ็บ ไอ คางทูม ทาแผล หลอดลมอักเสบ น้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน ส่วนชบา ดาหลา สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ กุหลาบ ดอกบัว มีน้ำมันหอมระเหยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ดอกลิลลี่คลายเครียด” นายสง่ากล่าว

การเลี้ยงปลา อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ













ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง การเลี้ยงปลาสลิด อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
ปลาสลิดเป็นปลาน้ำจืดในภาคพื้นเอเชีย พบมากแถบประเทศไทย เขมร เวียดนาม มลายู อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ สำหรับ ประเทศไทยมีชุกชุมและนิยมเลี้ยงกันมากในแถบบริเวณภาคกลางประเทศ และนิยมเลี้ยงในนาข้าวเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันมากที่สุดอยู่ที่ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ประชากรในจังหวัดส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปลาสลิดเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าปลาสลิดเค็มเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก เป็นที่ต้องการของตลาดและทั้งยังเป็นสินค้าออกที่ทำรายได้สูง ในปัจุบันจังหวัดสมุทรปราการได้มีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงปลาสลิดจึงลดน้อยลง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนนิยมเลี้ยงปลาสลิดมากขึ้นจึงได้จัดทำสารคดีชุดนี้ขึ้น โดยหวังว่าสารคดีชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงปลาสลิดต่อไป
ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทยที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pecteralis และนิยมเลี้ยงกันมากบริเวณภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย ปากีสถานศรีลังกา และฟิลิปปินส์ นั้น เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งจากเมืองไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปี ที่ผ่านมา และเรียกว่า สยาม หรือเซียม สำหรับแหล่งปลาสลิดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่ามีรสชาติดีเนื้ออร่อย คือ ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวอย่างแพร่หลาย ทำใหน้ำธรรมชาติที่จะระบายลงสู่บ่อเลี้ยงปลาสลิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวก็สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงปลาสลิดได้ เพราะปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทนต่อความเป็นกรด และน้ำมีปริมาณออกซิเจนน้อยได้ดี มีห่วงโซ่อาหารสั้น คือ กินแพลงก์ตอน เป็นอาหารต้นทุกการผลิตต่ำ โดยจะเลี้ยงอยู่ในนา คนเลี้ยงปลาสลิดเรียกว่า ชาวนาปลาสลิดและบ่อเลี้ยงปลาสลิดเรียกแปลงนาปลาสลิดหรือล้อมปลาสลิด (จากสภาพภื้นที่เลี้ยงปลาสลิดเล็กลง) กรมประมงจึงได้ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัดอื่น เช่น จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกในรูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง